มีองค์ประกอบหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงหากต้องการชงชาให้สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเช่น ปริมาณการชง ระยะเวลาการชง อุณหภูมิ และคุณภาพน้ำ ดังนั้นการปรับเทคนิคและอุปกรณ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มรสชาติและคุณภาพของชาที่ชงออกมาได้อย่างน่าอัศจรรย์
การเลือกชาที่ดีต้องมีความรอบคอบ
ชาที่ดีนั้นถึงจะไม่แพงแต่ก็ไม่ถูก ทั้งนี้ชาถือได้ว่าเป็นของที่ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับคุณค่า ทำให้การเลือกชาที่ดีนั้นต้องมีความรอบคอบ ชาที่มีการผลิตตามวิธีการแบบดั้งเดิม – เรียกว่า วิธีออร์โธดอกซ์ – เป็นการรักษาลักษณะพิเศษของที่ดินธรรมชาติ
และปัจจัยทางอากาศที่เกี่ยวข้อง ชาจะทำการบรรจุที่แหล่งผลิต เพื่อรักษาความสด และ รักษาความบริสุทธิ์จากแหล่งกำเนิด – โดยสรุป ชาจากแหล่งกำเนิดเดียว บริเวณเดียว หรือ พื้นที่เดียวกัน- เป็นชาที่ดีที่สุด
การปกป้องชาของคุณ
ชาเป็นสารดูดความชื้นและกลิ่น ดังนั้น จึงควรปกป้องชาของคุณในบรรจุภัณฑ์ที่ผนึกแน่นป้องกันอากาศ และ เก็บให้ห่างจากความชื้น ความร้อน แสง และ กลิ่น ควรเก็บไว้ในสถานที่ที่เย็นและแห้งโดยมีอุณหภูมิไม่สูงกว่า 30 องศาเซลเซียส สำหรับการจัดเก็บในระยะปานกลางนั้น ให้เก็บชาในถุงฟอยล์ที่ผนึกแน่นป้องกันอากาศ หรือ ภาชนะเซรามิคในตู้เย็น
น้ำ
ชาหนึ่งถ้วยประกอบด้วยน้ำ 99% ดังนั้นน้ำที่ดีมีความสำคัญสำหรับการชงชาเท่าๆกับตัวของชาเอง น้ำที่มีแร่ธาตุในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แคลเซียม และ แมกนีเซียม (น้ำกระด้าง) น้ำที่ใส่คลอรีน น้ำเค็ม หรือ น้ำทะเลที่แยกเกลือออก หรือ น้ำที่ทำการต้มหลายครั้งนั้นไม่ดีพอสำหรับการใช้ชงชา ชานั้นมีความละเอียดอ่อน
และ ความพึงพอใจในชาที่ดีมาจากส่วนผสมของกลิ่น ความใส ความเข้มข้น รสชาติ ตัวชา และ ใบชา ดังนั้นสิ่งเจือปน เช่นคลอรีน หรือ กาน้ำชาที่ล้างไม่สะอาดนั้นสามารถมีผลต่อความพึงพอใจของคุณในการดื่มชาที่ดีได้ ไม่ต่างกับการใช้น้ำที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ น้ำที่ดีหมายถึง น้ำพุธรรมชาติ
แต่นั่นจะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นหากคุณอยู่ในสต็อกโฮล์ม ซึ่งน้ำประปานั้นดีพอเพราะมาจากทะเลสาบที่มาจากธารน้ำแข็ง ในทางตรงกันข้าม น้ำในลอนดอนนั้นสามารถดื่มได้แต่ไม่เหมาะแก่การชงชา ถ้าน้ำในพื้นที่ของคุณนั้น ‘กระด้าง’ หรือ มีแร่ธาตุมาก โดยมีคลอรีน ฟลูโอไรด์ หรือ แร่ธาตุอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แคลเซียม คุณต้องใช้ตัวกรองที่เป็นถ่านคุณภาพดี (activated carbon) ซึ่งมีการใช้เป็นปกติในท้องถิ่นต่างๆและผู้ที่ชงชาเป็นประจำ
อุณหภูมิของน้ำและเวลาในการชงชา
ชาขาว อุณหภูมิ : 80°C ระยะเวลาการชง : 3 นาที
- ชาเขียว อุณหภูมิ : 80°C ระยะเวลาการชง : 3 นาที
- ชาอู่หลง อุณหภูมิ : 80-90°C ระยะเวลาการชง : 3 นาที
- ชาดำ อุณหภูมิ : 90-97°C ระยะเวลาการชง : 3 นาที ขึ้นไป
- ชามาเต อุณหภูมิ : 97-100°C ระยะเวลาการชง : 4 นาที ขึ้นไป
- ชารอยบอส อุณหภูมิ : 97-100°C ระยะเวลาการชง : 4 นาที ขึ้นไป
- ชาสมุนไพร อุณหภูมิ : 97-100°C ระยะเวลาการชง : 4 นาที ขึ้นไป
- ชาผลไม้ อุณหภูมิ : 97-100°C ระยะเวลาการชง : 4 นาที ขึ้นไป
การคน
เมื่อมีการผสมชาและน้ำใหม่ที่ต้มแล้วเข้าด้วยกัน ใบชาก็จะตกตะกอนอยู่ด้านล่างของกาที่ใช้ชงชา เป็นการลดการสัมผัสระหว่างใบชาและน้ำ จงทำการคนเพื่อกระตุ้นชาและทำให้มีการละลายที่เหมาะสม ทั้งนี้ชาดำควรจะทำการชงเป็นเวลา 3 นาที ทำการคนในน้ำที่เติมเข้ามาอีกครั้งในอีกหนึ่งนาทีต่อมา และ ท้ายที่สุดก่อนที่จะทำการเสริฟ ชาอู่หลงและชาเขียวให้ทำการชงเป็นเวลา 2 นาที
วิธีแก้ปัญหาชาจืด ชาฝาด
ปริมาณใบชา และน้ำไม่เหมาะสมกัน
ก่อนที่จะแช่ใบชา ต้องอย่าลืมว่าใบชาแต่ละชนิดมีความเข้มที่ต่างกัน ดังนั้นหากจะแช่ชาในอัตราส่วนที่เท่ากันทั้งหมดก็จะทำให้ได้ความเข้มของชาไม่เท่ากัน เช่น ในอัตราส่วน 1:3 ถ้าเป็นชาที่มีความเข้มน้อยก็จะได้รสชาติที่ไม่ติดฝาด แต่หากใช้ชาที่มีความเข้มมาก แล้วใช้ในอัตรา 1:3 ก็จะทำให้ได้น้ำชาที่มีความฝาดมากขึ้น
วิธีแก้ไขเบื้องต้นที่สามารถทำได้ คือก่อนการแช่ชาต้องรู้ว่าใช้ชาอะไร แล้วต้องใช้น้ำในอัตราส่วนเท่าไหร่ถึงจะได้น้ำชาที่ดี แต่หากได้น้ำชาที่มีความฝาดก็ให้ใช้น้ำร้อนผสมเล็กน้อยเพื่อเจือจาง
เวลาที่แช่ชาไม่พอดี
รู้หรือไม่ ? เวลาที่แช่ชาสำคัญมาก การแช่ชาทุกครั้งต้องอย่าลืมที่จะกำหนดเวลา และควรกรองชาทันทีเมื่อครบเวลาที่กำหนดไว้ เช่น หากต้องแช่ชาเพียง 3 นาที ก็ควรตั้งเวลาไว้ไม่ควรนับหรือประมาณเวลาเอาเอง เพราะหากกรองชาก่อนเวลาก็จะได้น้ำชาที่จืดจาง สีอ่อน และหากกรองชาเมื่อเกินเวลาที่กำหนดก็จะได้ชาที่เข้ม และมีความฝาด ทำให้รสชาติของชาผิดเพี้ยนได้
ทั้งนี้ แม้ว่าชาจะมีความเข้ม และใช้เวลาที่แช่ชาไม่เท่ากัน แต่ในกรณีที่เป็นใบชาชนิดเดียวกัน แต่หากใช้ในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากันก็จะต้องแช่ชาในเวลาที่ไม่เท่ากันด้วย เช่น ใช้ชาในอัตราส่วน 1:3 ก็สามารถที่จะแช่ชาแค่ 1-2 นาที แต่หากใช้อัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 1:5 ก็จะต้องเพิ่มเวลาเป็นประมาณ 3 นาที แต่หากกรณีที่กรองชาออกมาแล้วติดฝาดมาก ก็ให้ใช้น้ำร้อนผสมเล็กน้อยเพื่อลดความฝาดลง
ปริมาณการผสมกับวัตถุดิบอื่น ๆ
ต้องอย่าลืมทุกครั้งว่าใบชาแต่ละชนิด มีกลิ่น รสชาติที่ต่างกัน ใบชาบางชนิดเหมาะที่จะผสมนมมากกว่า เพราะจะชูรสชาติให้ดียิ่งขึ้น แต่ใบชาบางชนิดไม่เหมาะที่จะชงกับนม เพราะกลิ่นและรสชาติของนมจะกลบกลิ่นชา ก่อนจะเลือกชงเครื่องดื่มควรที่จะรู้ถึงเอกลักษณ์ของใบชาต่าง ๆ ด้วย