วากาชิ คือ ขนมหวานญี่ปุ่นโบราณ วัตถุดิบหลักคือถั่วแดงและแป้งข้าวเหนียวและเครื่องปรุงรสวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ มักใช้กรรมวิธีนึ่ง เผา ปิ้ง หรือปั้นในการทำ โดยตัวอักษรว่า วะ (和) หมายถึง ญี่ปุ่น และ กาชิ (菓子) แปลว่าขนม วากาชิมีทั้งแบบที่เรียบง่าย และรูปแบบขนมที่มีความปราณีตงดงาม ซึ่งมักได้รับแรงบันดายใจจากธรรมชาติ ใบไม้ดอกไม้ เป็นเสน่ห์อีกหนึ่งอย่างของญี่ปุ่น
โดยวากาชิจะหารับประทานได้ตามร้านที่มีการชงชา ร้านอาหารแบบดั้งเดิม และร้านของที่ระลึก วันนี้จะขอพามารู้จักวากาชิรสชาติและกลิ่นอายเป็นแบบญี่ปุ่นแท้ๆ ที่หลากหลาย โดยหลายเมนูมีชื่อว่าเป็นตำหรับจักรพรรดิเลยทีเดียว
1.Yokan (羊羹)
โยกัง หรือ ขนมวุ้นถั่วแดงญี่ปุ่นนั่นเอง เดิมเป็นขนมมาจากประเทศจีนที่ทำจากเจลาตินจากการต้มแกะที่ต้มโยกะ โดยขนมโยคังได้กลายเป็นของหวานเจลานีที่ทำจากถั่วแดงบด วุ้นสาหร่าย และน้ำตาล ในบางครั้งถั่วแดงจะถูกแทนที่ด้วยถั่วขาวเรียกว่า shiro-an
โยกัง เป็นขนมญี่ปุ่นโบราณที่มีมานานมากกว่า 200 ปี ซึ่งถ้ามองเผินๆ ลักษณะอาจจะดูคล้ายกับขนมชั้นของไทย ซึ่งเจ้าขนมโยกังจะมีลักษณะเป็นถั่วแดงบดแล้วอัดแข็งขึ้นรูปให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีสันก็แล้วแต่วัตถุดิบที่นำมาใช้ แต่หากเป็นของแบบดั้งเดิมจะทำจากถั่วแดงบดเป็นหลัก เป็นขนมที่ทำเก็บไว้ทานเองได้ง่าย และยังเก็บได้นานโดยไม่ต้องใช้ตู้เย็น จึงนิยมให้กันเป็นของขวัญอีกด้วย
2.Monaka (最中)
Monaka (最中) หรือ โมนากะ ขนมอบที่ประกอบไปด้วยแป้งเวเฟอร์ที่ทำจากโมจิแผ่นบางๆ ประกบเข้าด้วยกันเหมือนแซนวิช สอดไส้ถั่วแดง, ครีมชาเขียว, ครีมเกาลัด ความพิเศษของขนมนี้คือเนื้อแป้งที่จะไม่นุ่มเหมือนแป้งข้าวในขนมหวานญี่ปุ่นอื่น ๆ Monaka จะใช้แป้งข้าวบางพิเศษและกรอบนอกเหมือนกับแผ่นวาฟเฟิลของยุโรป ตัวเวเฟอร์นิยมทำให้มีรูปร่างและสีหลากหลายซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องที่ ปัจจุบันมีให้เลือกหลายไส้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์สอดไส้ไอศครีมอีกด้วย เพื่อความอร่อยหลังแกะควรรับประทานทันทีเพราะเวเฟอร์จะหายกรอบเมื่อโดนลมนาน
3.Oshiruko/Zenzai (おしるこ/ぜんざい)
Oshiruko/Zenzai (おしるこ/ぜんざい) คือชื่อเรียกขนมที่ทำจากถั่วแดงต้มวางด้วยโมจิย่าง หรือแป้งดังโงะ(แป้งชิราทามะ) เป็นเมนูอร่อยเหมาะสำหรับรับประทานเพื่อคลายหนาว สำหรับชื่อที่แตกต่างนั้นมาจากชื่อประเภทถั่วแดงต้มและภูมิภาค คำว่า เซ็นไซ (Zenzai/ぜんざい) สำหรับแถบคันไซ คือถั่วแดงต้ม แบบที่ถั่วยังเป็นเม็ดๆ ส่วนแถบคันโตหมายถึง คือถั่วแดงกวน (แบบไม่มีน้ำ) วางบนโมจิย่าง
ส่วน โอชิรุโกะ (oshiruko/おしるこ) ในแถบคันไซ คือ ถั่วแดงต้มแบบเนื้อถั่วบดละเอียด หากเป็นแถบคันโตจะหมายถึง ถั่วแดงแบบมีน้ำ ไม่ว่าจะเป็นแบบเม็ดหรือแบบถั่วแดงบด
4.Anmitsu (あんみつ)
Anmitsu (あんみつ) หรือ อันมิตสึ ขนมหวานเย็นที่ทำจากวุ้น ถั่วแดง โมจิ ผลไม้สด และไอศกรีม เสิร์ฟพร้อมคุโรมิตสึ หรือน้ำผึ้งดำ รับประทานด้วยกันอร่อยสดชื่น นิยมทานเย็นๆ กันในช่วงหน้าร้อน มักรับประทานกับน้ำเชื่อมรสต่างๆ ปัจจุบันมีการประยุกต์เพิ่มใส่ไอศครีมเข้าไปด้วย
5.Dango (だんご)
ดังโกะ หรือ Dango (だんご) ขนมหวานเสียบไม้ที่หน้าตาดูเหมือนลูกชิ้นปิ้ง พูดชื่อขึ้นมาหลายคนคงรู้จักเพราะจะเห็นขนามชนิดนี้อย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น ขนมชนิดนี้ทำจากแป้งข้าวจ้าวนำไปปั้นย่างและราดซอส แม้จะดูธรรมดามากแต่รสชาติอร่อยเหลือเชื่อทีเดียว นอกจากแบบต้นตำหรับปัจจุบันจะเห็นดังโกะมีท๊อปปิ้งมากมายตามของชื่อดังของท้องถิ่น เป็นขนมพื้นเมืองญี่ปุ่นสามารถที่หาซื้อรับประทานได้ตลอดทั้งปี ที่ไม่ควรพลาด
6.Namagashi (生菓子)
Namagashi (生菓子) หรือ นามากาชิเป็นขนมหวานสดทำจากแป้งข้าวจ้าว สอดไส้ถั่วกวน โดยส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นจะนิยมใช้เป็นไส้ถั่วแดง นากามาชิจัดอยู่ในกลุ่มขนมหวานแบบดิบซึ่งมีปริมาณน้ำผสม ประมาณ 30% หรืออาจมากกว่าเล็กน้อย เป็นขนมที่มีอายุสั้นเสียง่าย ความพิเศษของขนมชนิดนี้คือเป็นขนมที่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณีชงชา มีความละเอียดอ่อนและประณีตในการทำอย่างมาก มีหลากหลายรูปแบบ ปั้นเป็นรูปทรงสวยงาม เช่นรูปดอกไม้ และใบซากุระ โดยลวดลายที่ออกแบบมักจะสะท้อนถึงฤดูกาลและธรรมชาติในช่วงนั้น ๆ ของญี่ปุ่น
7.Sakuramochi (桜餅)
ซากุระโมจิ (Sakuramochi/桜餅) เป็นขนมสอดไส้ถั่วแดงและห่อด้วยใบซากุระน่ารับประทาน หลังจากกลีบและใบผ่านกระบวนการที่เรียกว่า shiozuke ซึ่งเป็นกระบวนการหมักใบและกลีบในเกลือ ทำให้ได้ Sakurazuke โดย Sakurazuke จะมีกลิ่นที่โดดเด่นและโดยทั่วไปมักจะนำมาใส่ขนมปังและในที่นี้ถูกใส่มาในโมจิ ซากุระโมจิเป็นขนมญี่ปุ่นที่ประกอบด้วยถั่วแดงบดถูกห่อด้วยแป้งโมจิสีชมพู และนำใบซากุระต้นฤดูหรือใบซากุระหมักห่อ ขนมชนิดนี้เป็นทีนิยมในช่วงซากุระบานในฤดูใบไม้ผลิและมีธรรมเนียมในการกินในวันที่ 3 มีนาคมเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล Hinamatsuriหรืองานวัดเด็กผู้หญิง
8.Manju (饅頭)
Manju (饅頭) หรือขนมมันจู คือ ขนมสอดไส้โดยแป้งมักทำจากแป้งมันเทศ (บางครั้งใช้แป้งโซบะ) ในส่วนของไส้นั้นอาจเป็นถั่วแดง เป็นถั่วบดและมีมันเทศหรือเกาลัดอยู่ตรงกลางไส้อีกที นำไปนึ่ง อบหรือย่าง ซึ่งรูปลักษณ์ของขนมมีหลากหลายทั้งแบบก้อนกลม ใบเมเปิ้ล หรือมันจูลูกเจี๊ยบ ทั้งน่ากินทั้งน่าอร่อย
9.Uiro (外郎)
ขนมอุอิโระ หรือ Uiro (外郎) เป็นเค้กนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวจ้าวปรุงรสที่ไม่เหนียว กับน้ำตาลและน้ำ มีรสชาติหวานและเหนียวหนุบ อุอิโระ มีรูปลักษณ์และรสชาติมากมายเช่น ถั่วแดง มัชฉะ ส้มยุสุ สตอเบอร์รี่ และ เกาลัด โดยUiroนี้เป็นขนมพิเศษของนาโกย่า
เรื่องเล่าต้นกำเนิดของขนมอุอิโระสามารถพบได้โดยรอบของเมืองยามากูชิ แม้ว่าที่มายังไม่แน่ชัดแต่มีบางทฤษฎีเชื่อว่าขนมอุอิโระถูกใช้เป็นยาแก้สำหรับโรคลำคออักเสพ หนังสืออ้างอิงแรกเกี่ยวกับขนมอุอิโระเป็นขนมที่ปรากฏขึ้นใน Wakan Sansai Zue สมุดภาพวาดสารานุกรมในปี1712
แต่ละอย่างนับว่ามีความน่ารับประทานที่แตกต่างกันไป ทั้งแบบเรียบง่ายและทั้งแบบสวยงามปราณีต ไม่แพ้ขนมญี่ปุ่นแบบใหม่เลยทีเดียว หลายแบบเมื่อทานกับชาญี่ปุ่นยิ่งทวีความคลาสสิกของรสชาติ ไปถึงที่ทั้งทีอย่าพลาดขนมพื้นเมืองญี่ปุ่น