ในปัจจุบันนี้มีกิจกรรมที่มีความท้าทาย ช่วยปลุกความตื่นเต้นของมนุษย์มากมาย ซึ่งช่วยทำให้ชีวิตที่น่าเบื่อมีรสชาติและมีสีสันขึ้นมาบ้าง สำหรับกิจกรรมที่เรานำมาแนะนำให้คุณผู้อ่านได้ทำความรู้จักกันวันนี้ เป็นกิจกรรมอันแสนตื่นเต้น เร้าใจ ให้ความรู้สึกว่า มีความอิสรเสรีราวกับว่าเป็นนกอินทรีอย่างไรอย่างนั้น ซึ่งกิจกรรมที่เรานำมาแนะนำกันในวันนี้ คือ ร่มร่อน (HangGliding)


ร่มร่อน (HangGliding) คืออะไร


เป็นอากาศยานเบาพิเศษประเภทหนึ่ง สามารถเคลื่อนที่ได้โดยพลังงานจลน์ ซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของโลก กระทำต่อปีก (Airfoils) ทำให้ร่มร่อนสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ไกล โดยอาศัยแรงยก (aerodynamic force) ที่เกิดขึ้นต่อร่มร่อน เมื่อมีอากาศไหลผ่านปีก



กีฬาประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่กลัวความสูง และมีความฝันว่าสักครั้งในชีวิตนี้อยากโผบินขึ้นไปบนท้องฟ้าได้อย่างอิสระ โดยที่การบังคับการบิน ไม่มีการใช้เครื่องยนต์ใดๆ ทั้งสิ้น ใช้ทักษะในการบังคับ พร้อมบินฉิวคู่ไปพร้อมกับสายลม โดยผู้ที่ขึ้นไปอยู่บนร่มร่อน (HangGliding) จะต้องเอาตัวเองแขวนกับตัวเครื่องร่อน และมีล็อกตัว 2 ตัวเพื่อยึดตรึงให้ผู้เล่นห้อยอยู่กับเครื่องร่อน ในลักษณะนอนราบ โดยผู้เล่าจะต้องเป็นคนวิ่งออกจากหน้าหลังจากนั้นก็ปล่อยให้ร่อน โดยในจังหวะนั้นถ้าคุณจะมากลัว หรือมาชะงักก็ไม่ได้แล้วเพราะจะอันตรายมาก เริ่มจากการนับ 1, 2, 3 ตามด้วยวิ่งสุดฝีเท้าเลยทีเดียว


กำลังที่ใช้ในการขับเคลื่อนร่มร่อน จะมีอยู่ 2 ช่วง คือ



1. ช่วงเทคอ็อฟ หรือช่วงที่เท้ายังไม่พ้นพื้น กำลังที่ได้ มาจากการวิ่ง อย่างเดียว


คือต้องวิ่งเต็มที่ครับ ถ้าไม่วิ่ง ปีกก็ไม่กำลังพอที่จะสร้างแรงยก การที่ปีกจะสร้างแรงยก เพื่อรับน้ำหนักทั้งหมดให้ได้ และยังคงมีอัตราร่อนที่ดี


ต้องมีลม พัดผ่านปีก ให้มากกว่า ความเร็วสต็อลของร่มเสียก่อน


(การทำงานของปีก ต้องอาศัยลมพัดผ่าน เพื่อสร้างแรงดันที่แตกต่างระหว่างปีกด้านบนและล่าง)



ถ้าร่มตัวไหน มีความเร็วสต็อลสูงหน่อย ก็ต้องวิ่งกันเหนื่อยและไกลน่าดู กว่าความเร็วจะถึง


โดยเฉพาะพวกบิน พารามอเตอร์ที่โหลด เกินพิกัด ความเร็วในการสต็อล ก็จะสูงขึ้น


ที่พูดนี้ หมายถึง ในกรณีที่ ลมอ่อน หรือไม่มีลมเลย


แต่ถ้ามีลมพัดเข้ามา ก็เอาความเร็วสต็อล ลบด้วยความเร็วลมที่พัดมา จะได้ความเร็วที่ต้องวิ่ง


ถ้าลมแรงพอ ก็แทบไม่ต้องวิ่งเลย แค่ตั้งร่มขึ้นมา ความเร็วลม ก็สร้างอัตรายกที่พอเพียง


2. ช่วงอยู่บนฟ้า พลังขับเคลื่อน อีกอย่างหนึ่ง ของร่มร่อน ในยามเท้าพ้นพื้น คือ น้ำหนัก


โดยปกติแล้ว ด้วยน้ำหนักของวัตถุ และแรงดึงดูดของโลก ของทุกชิ้น จะต้องหล่น ลงสู่พื้นทั้งนั้น


ร่มร่อน ก็เช่นเดียวกัน ด้วยน้ำหนัก ของนักบิน จะเป็นพลังดึงดูด ให้ร่มพุ่งลงสู่พื้น ตลอดเวลา


แต่ในการ ออกแบบร่ม จุดแขวนที่รับน้ำหนักทั้งหมดและก่อให้เกิดความสมดูลย์ (center of gravity)


จุดหลักๆ จะอยู่ที่สายชุดหน้า หรือสาย A เวลาร่มหล่นลงสู่พื้น จะหล่นแบบเอนไปข้างหน้า


หรือร่อนไปข้างหน้า แทนที่จะหล่นตรงๆ ด้านหน้าจึงรับแรงกดเแรงดึงมากกว่าด้านหลัง


(ชุดสาย A จึงทำงานหนักกว่าสายอื่น และต้องเปลี่ยนก่อนสายอื่นๆ)


โครงสร้าง


ร่มร่อนประกอบด้วย



ปีก (canopy) มีรูปทรงลิ่มอากาศ (airfoils) เพื่อก่อให้เกิดแรงยกเมื่อมีอากาศไหลผ่าน ตัวปีกจะถูกแบ่งเป็นห้องหลายห้องมีรูระบายอากาศทะลุถึงกันทุกห้อง มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ต้องมีรูปทรงที่คงที่ ไม่ต้องการความยืดหยุ่น ผลิตจากไนลอน แดครอน และโพลีเอสเตอร์ ที่ผ่านการเคลือบผิวเพื่อให้ลื่นลม และอากาศไม่สามารถผ่านทะลุเนื้อผ้าได้


สายร่ม แบ่งออกเป็นส่วนคือ สายพยุง (suspension line) และสายเบรก (break line) ภายในจะเป็นเคฟล่า ถูกห่อหุ้มด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติคือ สายพยุงต้องไม่สามารถยืดหยุ่นได้ แต่สายเบรกที่ต่อกับมือจับ (toggle) สามารถยืดหยุ่นได้


ไรเซอร์ (Riser) คือแถบผ้าที่ต่อจากส่วนปลายสุดของสายพยุง แล้วมารวมกันไว้ที่ rapid ring ปลายของไรเซอร์จะต่อเข้ากับ คาราบินเนอร์ (karabiner) ก่อนต่อเข้ากับที่นั่งนักบิน


ที่นั่งนักบิน (harness) จะถูกออกแบบมาให้นั่งได้สบาย มีอุปกรณ์ป้องกันการกระแทกหลัง ก้น และด้านข้าง