ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตรา
โครงสร้างไวโอลิน
หัวไวโอลิน ( Scroll )
โพรงลูกบิด ( Pegbox ) เป็นช่องสำหรับยึดลูกบิดกับสายไวโอลิน
ลูกบิด ( Peg ) ใช้สำหรับบิดเพื่อตั้งสายไวโอลิน
สายไวโอลิน ( String ) ไวโอลินจะมีสายทั้งหมด 4 สาย
คอ ( Neck )
ฟิงเกอร์บอร์ด ( Fingerboard ) เป็นส่วนที่ใช้ในการรับแรงกดของสายไวโอลินเวลาเล่น
ตัวไวโอลินส่วนบน ( Upper Bout )
เอว หรือ ส่วนเว้าของตัวไวโอลิน ( Waist )
ช่องเสียง ( F-holes ) เป็นช่องที่ทำหน้าที่กระจายเสียงของตัวไวโอลิน
หย่อง ( Bridge ) ทำหน้าที่ยกตัวสายไวโอลินให้สูงเหนือตัวฟิงเกอร์บอร์ด
ตัวไวโอลินส่วนล่าง ( Lower Bout )
ตัวปรับเสียง ( Fine Tuners ) เป็นก้านโลหะที่ใช้สำหรับปรับสายให้ตึงหรือหย่อนได้เล็กน้อยเพื่อช่วยในการตั้งสายให้ง่ายขึ้น สำหรับมือใหม่ตัวไวโอลินอาจจะจะต้องมี Fine Tuners ทุกสายเพื่อช่วยในการตั้งสายแต่สำหรับไวโอลินของผู้เล่นความชำนาญแล้วจะมี Fine Tuners ที่สายเสียง E เพียงสายเดียว
หางปลา ( Tailpiece ) เป็นส่วนที่ใช้ยึดสายไวโอลินบริเวณตัวไวโอลินส่วนล่าง
ที่รองคาง ( Chinrest ) ใช้สำหรับรองคางเวลาเล่น
ส่วนประกอบคันชัก (Bow)
เกลียวทองเหลือง ( Screw ) ใช้ในการขันเพื่อทำให้หางม้าตึง
หนังหุ้มด้ามคันชัก ( Pad ) มีไว้เพื่อกันนิ้วลื่นเวลาเล่น
แกนไม้ ( Stick ) เป็นส่วนแกนหลักของตัวคันชักใช้สำหรับยึดส่วนหางม้า
หางม้า ( Hair ) เป็นส่วนที่ใช้สัมผัสกับตัวสายไวโอลินเวลาสีเพื่อให้เกิดเสียง
ส่วนยึดหางม้า ( Frog ) เป็นส่วนที่ใช้ยึดหางม้าและใช้จับเพื่อให้ใช้งานได้ถนัดเวลาเล่น
เทคนิคการเล่นไวโอลินขั้นพื้นฐาน
1 ตึงหางม้า
เมื่อคุณวางโน้ตเพลงบนสแตนด์โน้ตเรียบร้อยแล้ว เปิดเคสแล้วนำโบว์ออกมา หางม้าของโบว์ในขณะนั้นควรจะหย่อนอยู่ จากนั้นให้คุณหมุนสกรูตรงโคนโบว์ตามเข็มนาฬิกาจนกว่าช่องว่างระหว่างหางม้าและแท่งไม้ของโบว์กว้างพอที่จะให้ดินสอแท่งหนึ่งเลื่อนผ่านไปมาได้ตั้งแต่ต้นจรดปลาย
2 ถูยางสนกับคันชัก
โดยยางสนทั่วไปนั้นจะเป็นวัสดุโปร่งแสงและแข็ง และมาในรูปแบบของสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในแม่พิมพ์ที่ทำจากกระดาษแข็งที่เปิดสองด้าน ซึ่งเวลาคุณจะถูยางสน คุณก็ต้องจับตรงแม่พิมพ์แล้วถูหางม้ากับยางสนตั้งแต่ต้นจรดปลาย 3-4 รอบ เพื่อที่จะให้หางม้าติดผงจากยางสน และมีความหนืดขึ้น จำไว้ว่าคุณต้องถูยางสนทุกครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มฝึก
3 จูนสายไวโอลิน
สายไวโอลินนั้นให้เรียงจากสายที่มีเสียงต่ำไปสายที่มีเสียงสูง คือ G D A และ E ในการตั้งสายครั้งแรกนั้นคุณอาจจะตั้งโดยใช้ลูกบิดที่หัวไวโอลินตั้งสายก่อน แต่ถ้าหากเสียงของสายเพี้ยนเพียงแค่เล็กน้อย ให้คุณปรับเสียงโดยใช้ตัวปรับเสียง (Fine Tuners) ที่อยู่ตรงหางปลา (Tailpiece) เมื่อคุณปรับเสียงจนพอใจแล้ว ให้คุณวางไวโอลินไว้ในเคสที่เปิดไว้สักพักหนึ่ง ซึ่งในครั้งแรกของการตั้งสายไวโอลินคุณอาจจะต้องให้มืออาชีพทำให้คุณก่อน
4 การหนีบไวโอลิน
- วางไวโอลินไว้ข้างลำตัว หลังจากนั้นให้วางไว้ใต้คาง
- ท่าทางการจับไวโอลินของคุณควรจะใกล้เคียงกับท่าทางปกติที่ยังไม่มีไวโอลินให้มากที่สุด ในขณะที่เคลื่อนไหวพยายามให้หลังและไหล่ทั้งสองข้างอยู่ในแนวตรงเสมอ
- อย่าหนีบไวโอลินด้วยคางเพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยคอได้ โดยเฉพาะเมื่อที่ใช้ที่รองไหล่
- ไวโอลินควรจะทำมุมครึ่งหนึ่งของมุมหน้าตรงกับด้านซ้ายของลำตัว
5 เทคนิคการจับคันชัก
- ควรจะจับคันชักใกล้ๆ Frog คุณสามารถจับด้ามคันชักตรงส่วนไหนก็ได้นับจากกึ่งกลางจนถึงโคนคันชัก (ตามวงกลมในภาพ) แต่อย่าให้มือสัมผัสกับหางม้า
- การจับไวโอลินให้จับที่ลำตัวแต่อย่าจับที่คอ พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับลูกบิดและสายเพราะอาจทำให้เสียงเพี้ยนได้
- อย่าเกร็งข้อมือ หมุนข้อมือไปทางซ้ายเล็กน้อย ปล่อยนิ้วต่างๆ ให้วางตามตำแหน่งของมัน
- ปลายนิ้วโป้งโค้งเข้าไปแตะกับปลาย Frog
- นิ้วต่างๆ ที่วางอยู่บนคันชักต้องเป็นแนวโค้งเล็กน้อย
- นิ้วกลางจะต้องอยู่ตรงข้ามกับนิ้วโป้ง
6 เทคนิคการวางคันชักลงบนสาย
- น้ำเสียงที่ไพเราะเกิดจาก ความเร็ว เเรงกด และการวางคันชักในตำแหน่งที่เหมาะสม
- เอียงด้ามคันชักไปทางฟิงเกอร์บอร์ดเล็กน้อย
- วางคันชักลงบนสายบริเวณกึ่งกลางหย่องกับฟิงเกอร์บอร์ด
- ลากคันชักให้เป็นแนวตรง ซึ่งจะทำให้คันชักขนานไปกับหย่อง
- ถ้าต้องการน้ำเสียงที่ดังขึ้นทำได้โดยการเพิ่มน้ำหนักการกดคันชักและลากคันชักให้ใกล้หย่อง
- น้ำเสียงที่เบาทำได้โดยการลากคันชักด้วยแรงกดที่เบาและลากคันชักให้ใกล้กับฟิงเกอร์บอร์ด
- ในขณะที่เล่นข้ามสายให้รักษาระดับของเเขนและคันชักให้มั่นคง