ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสในปี 2020 มาจนถึง 2021 ทำให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และโรงเรียน ต้องปรับตัวแบบ 360 องศา เข้าสู่ ระบบเรียนออนไลน์ กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 2 ปี ก็ทำให้ไม่อาจฝืนระงับการเรียนการสอนต่อไปได้ และเพื่อปรับตัวเข้าสู่โลกที่ “เรียนรู้ที่ไหนก็ได้ในโลก” ด้วย ทำให้ เรียนออนไลน์ เป็นสิ่งที่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ต้องทำความเข้าใจและเริ่มทำไปพร้อมๆ กัน
แต่ประสบการณ์การเรียนในห้องเรียนจริง เมื่อนำมาปรับเป็นการเรียนออนไลน์ ส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย และกังวลว่าอาจไม่สามารถได้ความรู้เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือได้อารมณ์เหมือนเรียนในห้องเรียน
บทความนี้จะพามาชม 5 เคล็ดลับ ที่ช่วยเพิ่มอรรถรสให้การเรียนการสอนหรือการอบรมออนไลน์ ที่นำไปสู่ประสิทธิภาพการเรียนการอบรมที่สูงกว่าเดิมได้ด้วย แต่ก่อนอื่นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ..
การเรียนแบบไหนที่เรียกว่า “น่าเบื่อ”?
เหม่อลอย ไม่มองหน้าจอที่ครูสอน หรือเปิดหน้าจอแต่แอบกดสมาร์ทโฟนไปด้วยหรือทำอย่างอื่น ฯลฯ พฤติกรรมแบบนี้ เกิดจากการสอนหรือการอบรมที่น่าเบื่อ เนีอยๆ ไม่น่าสนใจ
ซึ่งต้นเหตุที่แท้จริงคือ “การพูดใส่ผู้เรียน บอกให้นักเรียนไปท่องไปอ่านเนื้อหาบางอย่างมาแล้วก็จัดสอบ แท้จริงผู้เรียนหรืออบรมออนไลน์ไม่ได้อยากถูกสอน แต่อยากมีส่วนร่วมกับการสอนนั้นๆ ซึ่งนั่นหมายถึง การมีส่วนร่วมในการเล่าเรื่อง การบรรยาย ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกัน
1.สร้างบรรยากาศการเรียน
บรรยากาศการเรียนที่ดีจะช่วยทำให้น้อง ๆ มีสมาธิจดจ่ออยู่กับเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งน้อง ๆ ควรหาห้องที่เงียบสงบ ไม่เปิดเพลงเสียงดัง และไม่ทำอย่างอื่นควบคู่ไปด้วยในตอนเรียน โดยเฉพาะการเล่นโทรศัพท์มือถือ เข้าโซเชียลมีเดียขณะที่กำลังเรียนอยู่
หรือแม้แต่การเข้าไปเช็กข้อความเพียงไม่กี่นาที สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหลุดโฟกัสจากเนื้อหาที่เรียนได้ ซึ่งถ้าหากเป็นช่วงสำคัญก็จะทำให้เราพลาดเนื้อหาตรงนั้นไป และอาจไม่เข้าใจในเนื้อหาต่อไปได้ เพราะฉะนั้นควรหาห้องเงียบ ๆ และสร้างบรรยากาศการเรียนที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด รวมถึงการโฟกัสกับการติวอย่างเข้มข้น ลดกิจกรรมที่เข้ามาแทรกระหว่างติว จะช่วยทำให้เรียนได้อย่างเข้าใจและเก็บข้อมูลแต่ละวิชาได้ครบถ้วน
2.สร้างกลุ่มเพื่อชวนกันเรียน
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมตามธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก็นำไปสู่การพัฒนาหรือความก้าวหน้าของสิ่งต่างๆ ของโลกนี้
เช่นกันกับการศึกษาเล่าเรียน การเรียนร่วมกัน ชวนกันอ่าน ช่วยกันทำการบ้าน กระตุ้นให้เกิดการซักถามการขบคิดถึงสิ่งที่เรียนในมิติของการตั้งคำถามมากขึ้น และนำไปสู่คำตอบ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นการกระตุ้นความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในระยะยาวได้ดีมากด้วย
การมีส่วนร่วมในกลุ่มยังช่วยสร้างความมีส่วนร่วมหรือตัวตนของผู้เรียนในห้องเรียน ความรู้สึกเรียนหรืออบรมอย่างโดดเดี่ยวจะลดน้อยลงและจะรู้สึกมีความสุขมากขึ้น เมื่อพวกเขาได้มีส่วนร่วมในสิ่งที่ใหญ่กว่านั่นเอง
3.ครูพร้อมสอน นักเรียนพร้อมลุย
ผู้เรียนออนไลน์ไม่ได้อยากถูกสอน แต่อยากมีส่วนร่วมกับการสอนนั้นๆ ซึ่งนั่นหมายถึง การมีส่วนร่วมในการเล่าเรื่อง การบรรยาย ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกัน นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดี ครูผู้สอนก็มีส่วนสำคัญมาก ยิ่งเป็นการเรียนออนไลน์ด้วยแล้วการดึงสมาธินักเรียนให้อยู่ในคลาสเรียนให้จบ ยิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้น ครูจะต้องมีความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ให้เป็นอุปสรรคระหว่างการเรียนการสอน ยิ่งถ้าคุณครูมีเทคนิคที่ดี สอนแบบเป็นกันเองสบายๆ แอบหยอดมุกให้ในคลาสมีเสียงหัวเราะ เพิ่มสีสันให้กับการเรียน เนื้อหาที่สอนควรเป็นเนื้อหาที่ย่อยมาแล้ว
เช่น สอนสูตรลัด หรือทริคการจำเนื้อหา เทคนิคลักษณะนี้จะทำให้เด็กรู้สึกว่า การเรียนเป็นเรื่องสนุก แล้วก็ทำความเข้าใจตามได้ไม่ยากนัก ครูสามารถสอดแทรกประสบการณ์เรื่องเล่านอกตำราได้ เวลาครูสอนเรื่องไหนแล้วสอดแทรกเรื่องราวชีวิตคนอื่นที่เป็นแรงบันดาลใจให้ข้อคิดเพราะความรู้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ในห้องเรียน ประสบการณ์ชีวิตต่างหากที่ยั่งยืน การเรียนออนไลน์จะสนุกเพิ่มขึ้นถ้าครูรู้จักการจับเทรนด์โซเชียลมีเดียมาเพิ่มลูกเล่นในการสอน เพิ่มท้าทายขึ้นไปอีก เช่น TikTok
พื้นที่สร้างสรรค์วิดีโอสั้น แพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังมาแรงระดับโลก ครูอาจนำแพลตฟอร์มนี้มาช่วยทำสื่อการสอนเป็นวิดีโอสั้น ๆ ให้นักเรียนสนุกพร้อมทั้งได้ความรู้ควบคู่กัน ฟากฝั่งนักเรียนเองการเตรียมพร้อมสำหรับเรียนออนไลน์ให้สนุกไม่ยากอย่างที่คิด
ควรมีการพูดคุยทักทาย ถามตอบในสิ่งที่ไม่เข้าใจในเนื้อหาระหว่งผู้เรียนออนไลน์และผู้สอน เช่น มีช่องทาง Live Chat ให้นักเรียนได้พูดคุยกับติวเตอร์เหมือนนั่งเรียนในห้องเรียน นอกจากนี้ผู้สอนอาจมีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ร่วมตอบคำถามเพื่อชิงรางวัลอย่างสนุกสนาน เป็นต้น
4. ตั้งเป้าหมายในการเรียน ลองทำแผนการเรียนขึ้นมา
การเรียนครั้งนี้จะมีความหมายยิ่งขึ้น ก่อนอื่นลองตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่าเราเรียนรู้สิ่งนี้ไปเพื่ออะไร? เรามีเป้าหมายยังไงกับการเรียนครั้งนี้? มีอะไรที่เราอยากรู้เกี่ยวกับวิชานี้ จะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรเพื่อตัวเองบ้าง? จากนั้นลองทำแผนการเรียนสำหรับเป้าหมายนี้ขึ้นมาแล้วทำตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ให้ได้แค่นี้เอง
5. ทำทุกอย่างให้เหมือนเรียนในห้องเรียนจริง ๆ
เราจึงต้องสร้างความรู้สึกให้ตัวเอง คิดว่านี่คือการเรียนเหมือนในห้องเรียนจริง ๆ ไปเลย ลองจัดตารางเรียนให้เป็นเวลา ใส่มันลงไปในแพลนชีวิตประจำวันจริง ๆ ต้องเรียนคอร์สนี้ทุกวันไหน ช่วงเวลากี่โมง แล้วทำตามเวลานั้นเหมือนกับว่าต้องไปเข้าคลาสที่ต้องเช็คชื่อจริง ๆ ก็จะช่วยให้เราเรียนได้ตามแผนมากขึ้น
6.หาแรงบันดาลใจในการเรียน
ก่อนเริ่มเรียนน้อง ๆ นักเรียนควรหาแรงบันดาลใจให้ตนเอง โดยเริ่มจากหาสิ่งที่ตัวเองชอบแล้วตั้งเป้าหมายให้ชีวิต เมื่อเราเจอสิ่งที่ตัวเองสนใจก็จะทำให้อยากทำสิ่งนั้นให้ประสบความสำเร็จ และจะทำให้เราไม่รู้สึกเบื่อกับสิ่งที่เรากำลังศึกษา หรือสามารถพูดคุยกับติวเตอร์ที่จะมาแนะแนวอาชีพให้กับน้อง ๆ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อได้