“ปลากัด” ปลาตัวน้อยคู่บ้านคู่เรือนของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ แน่นอนว่าพวกเราคนไทยแทบจะไม่มีใครไม่รู้จักปลากัด ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดออกมาอย่างหลากหลาย รวมถึงมีสีสันแปลกตามากมาย และผู้เลี้ยงส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไว้เพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่บรรยากาศภายในบ้าน สำหรับมือใหม่ก็ต้องเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมในการเลี้ยงด้วย


1. การเปลี่ยนน้ำ เราควรเปลี่ยนน้ำทุกๆ 3-5 วัน ไม่แนะนำให้ถ่ายน้ำ100% ทุกครั้ง เปลี่ยนถ่ายแค่ครั้งละประมาณ 30-50% ก็พอ แต่ควรหาสายยางเส้นเล็กหรือสายอ๊อกซิเยนดูดขี้ปลาก้นโหลด้วยเพราะขี้ปลาจะทำให้เกิดแก๊สอุณหภูมิของการถ่ายน้ำไม่ควรห่างกัน ปลาอาจเกิดภาวะช็อกน้ำได้


2. ใส่หินประดับรองพื้นโหลปลา หลายๆคนชอบใส่หินประดับเพื่อแต่งตู้ปลาให้สวยงาม แต่ต้องพึงระวังหินบางชนิดมีความคมอาจทำให้บาดตัวปลาได้ และหินกลายเป็นที่หมักหมมของเศษอาหารและของเสียต่างๆทำให้ดูแลความสะอาดยาก แต่ถ้าอดใจไม่ได้ก็ให้นำหินออกมาล้างทำความสะอาดบ่อยๆ


3. ใส่เกลือเมื่อเปลี่ยนน้ำใหม่ การใส่เกลือจะช่วยลดความเครียดของปลาและช่วยให้เหงือกกับไตของปลาทำงานได้ดีขึ้น ลดการติดเชื้อต่างๆได้ เกลือยังฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้อีกด้วย ปริมาณที่พอเหมาะก็คือ 0.5-1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และต้องเป็นเกลือที่ไม่มีไอโอดีนด้วยเพราะจะทำให้ปลาระคายเคืองได้


4. การใช้น้ำประปาและบาดาลเลี้ยงปลา น้ำประปาจะมีคลอรีนซึ่งจะทำให้ปลาหายใจหอบๆ ตัวซีดขาว เซลล์ถูกทำลายและตายในที่สุด ดังนั้นให้พักน้ำประปาก่อนนำมาเลี้ยงปลา อย่างน้อยประมาณ 2-3 วันขึ้นอยู่กับความเข้มของคลอรีน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความแรงของคลอรีนในแต่ละที่ด้วย


ส่วนน้ำบาดาลควรระวังเรื่องกรดอ่อน เวลาใส่น้ำในโหลให้สังเกตุว่ามีเม็ดอากาศเยอะหรือไม่ ถ้ามีเม็ดอากาศเยอะเกินไปจะทำให้ปลามีโอกาสตายได้ใน 2-3 ชั่วโมง น่ากลัวกว่าน้ำคลอรีน วิธีแก้ไขให้พักน้ำในถังและเปิดฝาทิ้งไว้ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อปรับความเป็นกรดให้ลดลง ประมาณ 1 วันสามารถนำมาใช้ได้


5. เปิดไฟตู้ปลาทั้งวันทั้งคืน ตามหลักวิทยาศาสตร์ปลาไม่มีเปลือกตาก็เลยดูเหมือนลืมตาตลอด เวลามันนอนปลาจะลอยตัวอยู่ในน้ำนิ่งๆ ดังนั้นตอนกลางคืนเราก็ปิดไฟตู้ปลาให้ปลาได้นอนพักผ่อนได้


6. เลี้ยงปลาในห้องแอร์ สามารถเลี้ยงได้แต่ไม่ค่อยดี ภูมิของปลาจะต่ำลงที่จะต่อสู้กับโรคก็น้อยลงตามไปด้วย ทำให้ป่วยและติดเชื้อได้ง่าย อุณหภูมิที่ดีคือ 27-29 องศาแนะนำถ้าเลี้ยงในที่ที่มีอากาศเย็นก็ติดฮีตเตอร์ซักนิด


7. ใบหูกวาง สามารถใส่ได้และจะช่วยทำให้ปลาสดชื่น ช่วยเรื่องน้ำเน่าเสียและช่วยยับยังแบคทีเรียในน้ำและเวลาก่อหวอดจะก่อติดดีกว่าไม่ใส่ใบหูกวาง


อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางกายภาพของปลากัดแต่ละตัวนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้นเจ้าของควรสังเกตและพิจารณาอาการปลากัดของตัวเองให้ถี่ถ้วน และค้นคว้าหาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมกับโรคของปลากัดแต่ละตัวด้วยนะคะ