เรือสปีดโบ๊ต (Speed Boat) เป็นเรือที่นิยมใช้ในการท่องเที่ยวในประเทศไทยและอีกหลายประเทศ มีบริการที่ให้ความเป็นส่วนตัวและบรรยากาศดี นักท่องเที่ยวมักใช้บริการแบบเช่าเหมาลำ เพื่อล่องแม่น้ำสวยๆหรือใช้เหมาลำข้ามเกาะ
เรือสปีดโบ๊ต ใช้เชื้อเพลิงเป็นน้ำมันเบนซิน ขับเคลื่อนด้วยความเร็วในระดับที่ผู้โดยสารรู้สึกว่านิ่ง การตกแต่งภายในจึงสอดคล้องกับการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีเบาะและชุดห้องโดยสารที่คล้ายกับเคาน์เตอร์โรงแรม แต่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยทางน้ำของกรมเจ้าท่า
ไม่ว่าจะเป็นเรือโดยสารเพื่อเดินทางข้ามเกาะ หรือท่องเที่ยวเพื่อความสำราญ ผู้โดยสารควรปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยดังนี้
• ก่อนเดินทางควรตรวจสอบสภาพอากาศจากพยากรณ์อากาศ เพื่อเตรียมร่างกายและสุขภาพให้พร้อม
• เลือกเรือโดยสารที่มีมาตรฐานความปลอดภัย มีอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเรือครบถ้วน และมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ผ่านการฝึกอบรมและรับรองการกู้ชีพ
• แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่กระชับ เลือกชุดที่สวมและถอดได้ง่าย ไม่อุ้มน้ำ สวมรองเท้าชนิดหุ้มส้น เพื่อการเดินบนเรือและท่าเรือที่ปลอดภัย
• ตรวจสอบสมาชิกที่โดยสารไปด้วยกัน ทั้งโรคประจำตัว และแผนช่วยเหลือสำรองหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
• นำสัมภาระที่จำเป็นติดตัว หากมีโรคประจำตัวหรือเมาเรือง่าย ควรเตรียมยาแก้เมาเรือไปด้วย
• หากมีเด็กเล็กโดยสารมาด้วย ควรเตรียมเสื้อชูชีพเด็กมาเอง เพราะส่วนใหญ่เรือบริการท่องเที่ยวจะมีชูชีพไซส์ผู้ใหญ่ไว้บริการ
ระหว่างขึ้นเรือสปีดโบ๊ต
• สวมชูชีพก่อนขึ้นเรือ
• รอให้เรือเข้ามาประชิดกับท่า ยืนรอบริเวณที่เหมาะสมและปลอดภัย
• ไม่หยอกล้อหรือเล่นกันในลักษณะที่อันตรายต่อการตกท่าเรือ หากมีเด็กเล็กมาด้วยต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
• รอสัญญาณจากคนขับ หรือเจ้าหน้าที่บนเรือให้สัญญาณว่าขึ้นเรือได้
• ผู้โดยสารเลือกที่นั่งอย่างสมดุลน้ำหนัก หากไปด้วยกันหลายคนควรเลือกนั่งกระจายน้ำหนักให้เรือสมดุล
• ไม่นั่งบริเวณที่อาจเกิดอันตราย เช่น กราบเรือ หลังคาเรือ ท้ายเรือ ควรเลือกที่นั่งตามทักษะการทรงตัว คนที่ไม่เคยนั่งเรือหรือเวียนหัวง่าย ก็ควรให้นั่งในบริเวณที่ปลอดภัยในตัวเรือ
• ไม่ดื่มสุราและเสพสารเสพติดที่ทำให้สติสัมปชัญญะลดลงขณะเดินทาง
• เมื่อเรือใกล้ขึ้นฝั่งเทียบท่า ไม่ลุกพร้อมๆกันให้ทยอยขึ้นเรือ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรฟังเจ้าหน้าที่บนเรือทั้งก่อนขึ้นและลงเรือหรือในเหตุการณ์ต่างๆบนเรือ เพราะเจ้าหน้าที่ผู้ขับเรือและผู้ที่เป็นลูกเรือ ได้รับการฝึกอบรมและรับรองการกู้ชีพแบบสากล ทั้ง CPR และ EFR และหลักสูตรการช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นมาแล้วนั่นเอง