หลายคนอาจมองว่า “แอนตาร์กติกา” ที่อยู่ทางขั้วโลกใต้และ “อาร์กติก” ที่อยู่ทางขั้วโลกเหนือก็ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเหมือนๆ กัน แต่ในความเหมือนกันนี้ยังมีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว


ขั้วโลก (ใต้) ของแอนตาร์กติกาอยู่บนแผ่นขนาดใหญ่ที่ปกคลุมด้วย “ชั้นน้ำแข็ง” แต่ขั้วโลก (เหนือ) ของอาร์กติกอยู่บนน้ำทะเลที่บางส่วนกลายเป็นน้ำแข็งหรือเรียกว่า “ทะเลน้ำแข็ง”


- น้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกามีความหนาเฉลี่ยถึง 2,450 เมตร แต่น้ำแข็งที่อาร์กติกมีความหนาเฉลี่ยเพียง 2-3 เมตร



- ในช่วงฤดูหนาวของทวีปแอนตาร์กติกามีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -65 ถึง -70 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -25 ถึง -45 องศาเซลเซียส ขณะที่อาร์กติกมีอุณหภูมิช่วงฤดูหนาวระหว่าง -26 ถึง -43 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 0 องศาเซลเซียส ซึ่งเห็นได้ชัดว่าอุณหภูมิในฤดูหนาวของอาร์กติกใกล้เคียงอุณหภูมิในฤดูร้อนของแอนตาร์กติกา



นอกจากนี้สภาพภูมิศาสตร์จากสองทวีปที่ต่างกันได้ส่งผลให้ "น้ำแข็ง" ของแต่ละทวีปแตกต่างกัน



อาร์กติก (Arctic)


อาร์กติก (Arctic) เป็นพื้นที่ในบริเวณ "ขั้วโลกเหนือ" ซึ่งบริเวณของอาร์กติกนี้ประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ เช่น แคนาดา, กรีนแลนด์ (ดินแดนของเดนมาร์ก), สหรัฐอเมริกา (อลาสกา), ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์, สวีเดน และฟินแลนด์


แอนตาร์กติก (Antarctic)


ทวีปแอนตาร์กติกเป็นทวีปที่อยู่ทาง "ทิศใต้สุด" เป็นทวีปที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 และยังเป็นศูนย์กลางของนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกที่มักไปทำการสำรวจ และ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งทวีปนี้ถูกค้นพบเมื่อ 200 กว่าปีที่แล้ว



น้ำแข็งอาร์กติก


อาร์กติก มีภูมิศาสตร์เป็นมหาสมุทรกึ่งปิด ล้อมรอบด้วยแผ่นดินเกือบทั้งหมด เป็นผลให้น้ำแข็งทะเลที่ก่อตัวในอาร์กติกไม่สามารถเคลื่อนที่ไปมามากเหมือนน้ำแข็งทะเลในแอนตาร์กติก ทำให้น้ำแข็งมีแนวโน้มที่จะมาชนและบรรจบชนกัน และ รวมกันเป็นสันเขาน้ำแข็งที่หนา การบรรจบกันเหล่านี้ทำให้น้ำแข็งอาร์กติกหนาขึ้น ทำให้วงจรชีวิตของน้ำแข็งยืนยาวขึ้น นำไปสู่การคงสภาพเป็นภูน้ำแข็งได้นานช่วงฤดูร้อนแทนที่จะละลายเหมือนน้ำแข็งในแอนตาร์กติก


น้ำแข็งแอนตาร์กติก


แอนตาร์กติก เกือบจะเป็นพื้นที่ที่ตรงกันข้ามกับอาร์กติก เนื่องจากแอนตาร์กติกาเป็นผืนดินที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรมหาสมุทร ช่วยให้น้ำแข็งในทะเลก่อตัวเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ส่งผลให้มีการน้ำแข็งในทวีปนี้เคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าอาร์กติก และจับตัวเป็นสันเขาน้ำแข็งได้น้อยกว่าน้าแข็งทะเลในแถบอาร์กติก นอกจากนี้ เนื่องจากไม่มีแนวกั้นไม่ให้น้ำแข็งลอยไปทางน่านน้ำทางเหนือที่มีอุณหภูมิค่อนข้างอุ่น เป็นผลให้น้ำแข็งเกือบทั้งหมดที่จับตัวในช่วงฤดูหนาวละลายในฤดูร้อน ในช่วงฤดูหนาว มหาสมุทรมากถึง 18 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ภายในสิ้นฤดูร้อน น้ำแข็งในทะเลจะเหลือเพียงประมาณ 3 ล้านตารางกิโลเมตร


ถ้าน้ำแข็งขั้วโลกละลาย จะเกิดอะไรขึ้น ?


ปัญหาน้ำแข็งขั้วโลกกำลังแสดงผลออกมาอย่างชัดเจนมากที่สุด ไม่ว่าจะเรื่องอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะที่น้ำแข็งละลายจนแทบจะเป็นน้ำตก และแน่นอนว่ายิ่งน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วเท่าไหร่ ระดับน้ำทะเลก็จะยิ่งสูงเร็วขึ้นเท่านั้น โดยตามการคาดการณ์ หากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายจนหมด ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นมากถึง 5 เมตร ส่วนถ้าน้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงมากขึ้นถึง 50 - 60 เมตรด้วยกัน



ผลกระทบของน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ยังไม่ได้ส่งผลแค่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเท่านั้น จากอุณภูมิที่สูงขึ้น ทำให้พยาธิในปลาของขั้วโลกมีจำนวนมากขึ้น หลังจากที่เมื่อก่อนนั้นพวกพยาธิแทบไม่เคยพบเจอในตัวปลาเลย นั่นหมายความสภาวะโลกร้อน จะยิ่งทำให้พยาธิในตัวปลาเพื่อมจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งนอกจากปลาแล้ว นกแพนกวิน ก็พบว่ามีอัตรารอดชีวิตน้อยลง เพราะหาอาหารได้ยากกว่าเดิม เมื่อแม่แพนกวินต้องออกไปหาอาหารเป็นเวลานาน ทำให้ลูกนกแพนกวินต้องอยู่ตนเดียวเพียงลำพังเป็นเวลานาน ซึ่งถ้ากลับมาไม่ทัน พวกลูกนักจะตายในทันที โดยปัญหานี้ยังเกิดกับพวกแมวน้ำอีกด้วย



หมีขาวเองก็เป็นสัตว์ที่โดนผลกระทบนี้ เมื่อหมีขาวขั้วโลกใต้เริ่มไม่จำศีล และมีขนาดตัวที่ผอมลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากหมีขาวจะล่าแมวน้ำเป็นอาหาร แต่ด้วยน้ำแข็งที่น้อยลงทำให้การล่าแมวน้ำเป็นเรื่องที่ยากขึ้น นั่นทำให้พวกหมีขาวต้องเปลี่ยนไปกินพวกกญ้า หรือมอสแทน ผลกระทบดังกล่าวผลักให้หมีขาวต้องออกมาหาของกินตรงแถบหน้าผา และล่วงล้ำไปในเขตหมู่บ้านของมนุษย์ เพื่อคุ้ยขยะกิน



"ปัญหาน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ยังส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศ ซึ่งสามารถรุกรามไปทั่วโลก ที่จะเกิดภูมิอากาศที่ผิดเพี้ยนขึ้น ทั้งทิศทางลม ฤดูกาล ไปจนถึงกระแสน้ำในทะเลทั้งหมด"