Marie Kondo หญิงชาวญี่ปุ่น เจ้าของซีรีย์ Tidying Up With Marie Kondo ใน Netflix ก่อนหน้านี้เธอมีชื่อเสียงมาจากการเขียนหนังสือชื่อ The Life-Changing Magic of Tidying Up ซึ่งเธอได้สร้างแรงบันดาลให้กับคนทั่วโลกในเรื่องการจัดระเบียบของใช้ในบ้านและการใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบ เธอได้ถูกขนานนามว่าเป็น Tidying-Expert หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดระเบียบ จนเกิดเป็นวิธีใหม่ของการจัดบ้านที่เรียกกันว่า “KonMari” (คอนมาริ)
วิธีการจัดบ้านแบบ Konmari (คมมาริ) คืออะไร?
การจัดบ้านแบบคมมาริ คือการนำสิ่งของทุกอย่างมากองรวมกันแล้วค่อยๆ แยกของที่ต้องการเก็บไว้ และของที่ต้องการปล่อยไป โดยความสำคัญของขั้นตอนนี้ ก็เพื่อให้เราตระหนักถึงสิ่งที่เรามีว่ามีอยู่เยอะแค่ไหน และเห็นคุณค่าของสิ่งของที่เราใช้ในทุกวัน หรืออาจจะหลงลืมมันไป โดยคุณมาริเอะแนะนำให้หยิบของขึ้นมาทีละชิ้น และกล่าวขอบคุณสิ่งของเหล่านั้น ไม่ว่าเราเลือกที่จะเก็บไว้หรือทิ้งมันไป
ขั้นตอนการจัดบ้านแบบคมมาริ ทำอย่างไร ?
ก่อนจะเริ่มจัดเก็บสิ่งต่างๆ ให้นำสิ่งของทั้งหมดออกมากองรวมกันและคัดแยกทีเดียว แต่หากว่าคุณมีพื้นที่ไม่มาก เราสามารถนำของออกมากองทีละหมวดหมู่ได้ เช่น เสื้อผ้าทั้งหมดในตู้เสื้อผ้า รองเท้า ของใช้ในครัวเรือน หนังสือ เอกสาร เพื่อให้มองเห็นได้ชัด ว่ามีจำนวนของทั้งหมดอยู่เท่าไหร่ จากนั้นมาถึงขั้นตอนสำคัญคือ คัดแยกของที่จะเก็บไว้ โดยเลือกจากของที่ช่วยจุดประกายความสุข และของที่ต้องการปล่อยไป โดยอาจจะแยกเป็นของที่ต้องการบริจาคและของที่ต้องการทิ้ง
และสิ่งสำคัญที่สุด คือเริ่มขั้นตอนการจัดเก็บของตาม “หมวดหมู่ของใช้” ไม่ใช้หมวดหมู่ห้อง
ตัวอย่างเช่น...
1. หมวดหมู่เสื้อผ้ากองโต
แยกผ้าออกเป็น 3 กอง ผ้าที่จะเก็บไว้ใช้ / ผ้าที่จะบริจาค /ผ้าที่จะทิ้ง
พับผ้า 3 ทบ และตั้งเรียงไว้ในลักษณะดังภาพ จะทำประหยัดพื้นที่ และหาเจอได้ง่าย
ใช้กล่องจัดระเบียบสำหรับเสื้อผ้าชิ้นเล็กๆ เช่น กางเกงใน เสื้อชั้นใน ถุงเท้า ให้แยกสัดส่วนในเป็นระเบียบ และหยิบได้ง่าย
2. หมวดหมู่ของใช้ในครัวเรือน
แยกหมวดหมู่ของใช้ในครัว เช่น ช้อน ส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ เครื่องปรุง
ใช้กล่องจัดระเบียบใส่ของแยกหมวดหมู่ ก่อนจะนำไปจัดวางในลิ้นชัก
ใช้ภาชนะที่มีสีใส ใส่เครื่องปรุงหรือซอสที่มีลักษณะเป็นซองหรือถุง และจัดวางในลิ้นชักเดียวกัน โดยอาจจะติดข้อความไว้ตรงหน้าภาชนะ เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบใช้
ของจิปาถะในครัวที่ซื้อมาตุนไว้และยังไม่ใช้ เช่น ถุงมือยาง ถุงขยะ ผ้ารองโต๊ะ ให้พับเก็บใส่กล่องไว้ให้เป็นระเบียบ
3. หมวดหมู่เอกสาร
เอกสารรอการดำเนินการ เช่น จดหมาย ใบเรียกเก็บเงิน ฯลฯ
เอกสารสำคัญ ที่จำเป็นต้องเก็บไว้เป็นการถาวร เช่น สัญญา แบบฟอร์มประกัน
เอกสารจิปาถะ ที่เราอ้างอิงถึงบ่อยๆ หรือหยิบขึ้นมาดูบ่อยๆ เช่น สูตรอาหารจากนิตยสาร
นำเอกสารแต่ละหมวดหมู่ แยกใส่ซองไว้ติดป้ายหน้าซองเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ก่อนจะนำไปเก็บเรียงใส่กล่องเพื่อให้เป็นระเบียบ
4. หมวดหมู่หนังสือ
คัดเลือกหนังสือที่จุดประกายความสุขให้เรา และปล่อยเล่มที่เราไม่ใช้แล้วไป ที่สำคัญอย่าลืมที่จะขอบคุณหนังสือเหล่านั้นก่อนจะส่งต่อให้กับผู้อื่น
จัดระเบียบชั้นวางหนังสือ
ทริคเพิ่มเติมคือการกั้นผ้าม่านเล็กๆ ช่วยให้มองแล้วดูเรียบร้อยมากขึ้น
5. หมวดหมู่โคโมโนะ หรือของจิปาถะ
คัดแยะของจุกจิกซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่กินพื้นที่ภายในบ้าน
ใช้กล่องจัดระเบียบสีใสในการคัดแยกสิ่งของเพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น เช่น สมุดจด กุญแจ รีโมทต่างๆ ก่อนจะนำไปจัดวางในลิ้นชัก หรือตู้ เพื่อให้เป็นระเบียบ
ใช้กล่องในการใส่ของใช้ที่ซื้อมาตุนไว้ เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่อาบน้ำ
6. หมวดหมู่ของที่มีคุณค่าทางจิตใจ
จัดระเบียบเป็นหมวดหมู่สุดท้าย เพราะมักจะต้องใช้เวลาในการระลึกถึงความทรงจำ
ค่อยๆ คัดแยกสิ่งของที่มีคุณค่าต่อความทรงจำ เช่น จดหมาย ภาพถ่าย และนำมาจัดกลุ่มให้อยู่ด้วยกันในอัลบั้มภาพ หรือกล่องเก็บของจดหมาย
ข้อดีของการจัดบ้านตามคมมาริของคุณมาริเอะ
การนำสิ่งของทุกอย่างมารวมกันและคัดแยกทีเดียว ทำให้เราเห็นถึงจำนวนของในหมวดหมู่นั้นๆ ว่ามีจำนวนมากขนาดไหน
ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ว่าอันไหนควรเก็บไว้ และควรทิ้งมันไป
การนำของมากองรวมกันทีเดียว และจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ทำให้ครั้งต่อๆ ไป เราจะสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ว่าเราจะไร้ระเบียบแค่ไหนก็ตาม
การจัดเก็บของเป็นหมวดหมู่ ทำให้ง่ายต่อการค้นหาของ