ธารน้ำแข็ง (glacier) เป็นมวลน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่ปกคลุมพื้นดินแถบขั้วโลกหรือยอดเขาสูง ตามปกติเกิดจากหิมะที่ตกในปริมาณมากและได้กดทับถมเป็นเวลานานหลายล้านปี จนเกล็ดหิมะถูกอัดแน่นเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ แม้จะเป็นสิ่งไม่มีชีวิตแต่ก็สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดมวลน้ำแข็งให้เคลื่อนที่อย่างช้าๆลงตามไหล่เขา ผ่านหุบเหวและพื้นราบจนกระทั่งถึงทะเลหรือมหาสมุทร ครั้นเมื่อน้ำแข็งสัมผัสกับน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ธารน้ำแข็งก็จะแตกตัวแยกออกเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่บ้าง และเล็กบ้างลอยละล่องไปในทะเลเป็นก้อนน้ำแข็งในทะเล (sea-ice) และภูเขาน้ำแข็ง (iceberg)


การศึกษาน้ำแข็งทั่วโลกพบว่าอัตราเร็วการละลายของธารน้ำแข็งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และเป็นปัญหาที่เร่งด่วนกว่าการละลายของแผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติก ประจักษ์พยานเกี่ยวกับผลกระทบโลกร้อน ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ปรากฎให้เห็นโดยทั่วไปและมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือการละลายของธารน้ำแข็งนั่นเอง


ธารน้ำแข็งเหล่านี้คือแหล่งน้ำจืดที่หล่อเลี้ยงระบบนิเวศ นั่นหมายความว่าหากอุณหภูมิโลกยังคงร้อนขึ้น ในอนาคตอันใกล้ผู้คนนับล้านจะเผชิญกับปัญหาชาดแคลนน้ำ อีกผลกระทบใหญ่ของของการละลายของธารน้ำแข็งคือระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น


นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า วิกฤติโลกร้อนคือสาเหตุเบื้องหลังการสูญเสียธารน้ำแข็งที่รวดเร็วขึ้นบริเวณพื้นที่สูงและพื้นที่ใกล้ซีกโลกเหนือและใต้ ส่งผลต่อพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลกและก่อให้เกิดวัฎจักรที่ผิดปกติจากกระแสน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งซึ่งไม่ต่างจาก ‘อาคารเก็บน้ำตามธรรมชาติ’ กระทบต่อประชากรหลายล้านคนผู้อาศัยอยู่ปลายน้ำ


ปัญหาธารน้ำแข็งละลายไม่ใช่กดสวิตท์แล้วทุกอย่างจะหยุด เพราะต่อให้นานาชาติสามารถบรรลุข้อตกลงลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกจะยังคงสูญเสียธารน้ำแข็งไปอย่างน้อยอีกร้อยละ 10 อยู่ดี เพราะนี่คือปัญหาสั่งสมที่ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและกว่าจะถึงจุดที่ฟื้นคืนได้ ธารน้ำแข็งจะยังคงละลายต่อไป โดยคาดกันว่าในปี 2021-2050ทุกๆหนึ่งวินาที มีน้ำจากธารน้ำแข็งทั่วโลกคิดเป็นปริมาตรเทียบเท่ากับน้ำในสระว่ายน้ำโอลิมปิก 5 สระ น้ำเหล่านี้คงอยู่ในรูปแบบของแข็งมานานหลายพัน หลายหมื่นปี แต่ไม่อาจคงรูปได้อีกต่อไปจากกิจกรรมของมนุษย์


ดังนั้นเพื่อจะขจัดปัญหานี้ ทุกชาติจะต้องพยายามไม่เพิ่มการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และหาวิธีปกป้องทวีปอาร์กติกให้คงสภาพดีที่สุด โดยห้ามไม่ให้ชาติหนึ่งชาติใดล่วงเกินหรือยึดครอง