ถ้าพูดถึงหิมะ สำหรับคนไทยคงไม่ได้มีโอกาสสัมผัสในประเทศไทย ซึ่งเราก็รู้กันเพียงแค่ว่าหิมะจะตกในที่ๆมีอากาศหนาวเย็นและมันมีสีขาว ซึ่งถ้าหากคุณได้อ่านความจริงเกี่ยวกับหิมะเหล่านี้ล่ะก็ คุณจะรู้จักหิมะมากขึ้นเลยทีเดียว


1. มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า “โดนัทหิมะ” หรือเรียกอีกชื่อว่า “ลูกกลิ้งหิมะ” จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อจำนวนหิมะเล็กๆที่จับกันเป็นก้อน ถูกลมพัดขึ้นมาตามลม สะสมไปเรื่อยๆจนกลายเป็นรูปทรงอย่างที่เห็น


2. จากการที่เกล็ดหิมะเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศลงมา ทำให้แต่ละเกล็ดหิมะแต่ละอันจะมีลักษณะที่ไม่ซ้ำกัน แต่นักฟิสิกส์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ได้พบวิธีสร้างเกล็ดหิมะที่เป็นคู่แฝดเหมือนได้แล้ว


3. หลังจากหิมะตก มักจะเงียบสงบเสมอ นอกจากผู้คนและรถยนต์จะออกมาบนท้องถนนน้อยลงแล้ว ปัจจัยหนึ่งที่มีผลอย่างมากก็คือ หิมะสามารถดูดซับเสียงได้ดี โดยเฉพาะชั้นหิมะหนาจะยิ่งดูดซับคลื่นเสียงได้ง่าย ซึ่งมันจะช่วยลดเสียงรบกวนได้มาก


4. แต่ในอีกมุมหนึ่ง หิมะก็ช่วยขยายเสียงด้วยเช่นกัน เพราะถ้ามีหิมะการละลายและเกิดแข็งตัวขึ้นอีก มันจะทำให้พื้นผิวหิมะแข็งและเรียบเนียน พื้นผิวแบบนี้จะช่วยสะท้อนเสียงได้ดีกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ได้ยินเสียงที่อยู่ห่างไกลได้ชัดเจนและดังมากขึ้น


5. หิมะ สามารถก่อตัวเป็นรูปทรงแท่งผอมๆ เหมือนใบมีดขนาดใหญ่ ซึ่งมันถูกเรียกว่าเพนิเทนเตส (Penitentes)


6. สีของหิมะไม่ใช่สีขาว แต่มันโปร่งแสง ส่วนที่เรามองเห็นหิมะเป็นสีขาวก็เพราะเป็นเรื่องของแสงสะท้อน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณสวมเสื้อสีฟ้า เสื้อของคุณจะดูดซับทุกๆสี ยกเว้นสีฟ้า แล้วสะท้อนสีฟ้ากลับออกมาให้คนเห็น ส่วนหิมะก็คล้ายกันเพียงแต่หิมะสะท้อนกลับทุกสี เพราะมันไม่มีสีของตัวเอง และเมื่อสีทั้งหมดถูกสะท้อนมารวมกันมันจึงกลายเป็นสีขาว


7. หิมะ ถูกจัดเป็นแร่ธาตุ เช่นเดียวกับเพชรหรือเกลือ เพราะมันถูกสร้างขึ้นมาจากน้ำแข็ง


8. พืชบางชนิด มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในพื้นที่ๆมีหิมะตลอดทั้งปี อย่างเช่น พวกต้นไม้ในอาร์กติก ก็จะมีการปรับรูปแบบให้มีลักษณะเฉพาะเพื่อไม่ให้หิมะมาเกาะตามกิ่งก้าน เพื่อไม่ให้หิมะมาสร้างความเสียหายให้กับตัวมันนั่นเอง


9. มีปรากฏการณ์หายากสุดๆ ที่เรียกว่า “Thunder Snow” หรือ หิมะฟ้าผ่า เป็นการเกิดฟ้าผ่าในระหว่างที่เกิดพายุหิมะ


10. ในบางพื้นที่ มีเหตุการณ์ที่เรียกว่า “แตงโมหิมะ” หรือหิมะที่ตกลงมาเป็นสีชมพูหรือแดง ซึ่งมันเกิดขึ้นจาก Chlamydomonas nivalis ที่เป็นสายพันธุ์หนึ่งของตะไคร่น้ำ ที่ประกอบไปด้วยแคโรทีนอยด์ สารพฤกษเคมีที่มีสีโทนแดง ดังนั้นเมื่อเจ้าตะไคร่น้ำนี้เกาะอยู่ในหิมะ มันจึงเป็นสีแดงราวกับแตงโมแบบนี้


นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในความรู้เกี่ยวกับหิมะเล็กๆน้อยๆที่เอามาฝากกัน หากใครที่ชอบเดินเล่น หรือไปเที่ยวเมืองหิมะ ก็อย่าลืมหาข้อมูลอย่างอื่นเพิ่มเติมด้วยนะคะ